กิจกรรมจิตศึกษากับการบ่มเพาะปัญญาภายใน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 Quarter 3 ปีการศึกษา 2558
สัปดาห์
|
วัน
|
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ/อุปกรณ์
|
2
2 - 6
พ.ย.
2558
|
จันทร์
|
กำกับสติ มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ ใคร่ครวญ เห็นความเชื่อมโยงเห็นคุณค่าของตัวเอง
ผู้อื่น หรือสิ่งของ
|
ชื่อกิจกรรม น้ำ , ตัวเรา , ต้นไม้
ขั้นเตรียม : Brain gym 2 นาที
ขั้นกิจกรรม : ครูนำ น้ำกับต้นไม้มาวางไว้กลางวงกลม
- ครูใช้คำถามกระตุ้น
เห็นอะไร?, รู้สึกอย่างไร?
- น้ำ ต้นไม้
สัมพันธ์กับตัวเราอย่างไรเพราะเหตุได
-นักเรียนเล่าเรื่องถ่ายทอด
ขั้นจบ : ขอบคุณกันและกัน , ขอบคุณน้ำ, ต้นไม้
|
น้ำ
ต้นไม้
|
อังคาร
|
เชื่อมโยง สร้างสรรค์ ใคร่ครวญ
รู้จักตนเอง
|
ชื่อกิจกรรม : ตัวเลขกับชีวิต
ขั้นเตรียม:รู้ลมหายใจ หายใจเข้า – ออก ๕ ครั้ง รู้ลมหายใจ
- กิจกรรม Brain
Gym 3 ท่า (งูใหญ่ กำแบ เคาะร่างกาย)
ขั้นกิจกรรม:ครูเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลขที่ตนเองมีความรู้สึกชอบและมีประสบการณ์เกี่ยวตัวเลขนั้นๆ- ครูแจกกระดาษขนาด ครึ่ง A5
และให้นักเรียนใคร่ครวญถึงตัวเลขที่ตนเองรู้สึกชื่นชอบหรือมีความเชื่อมโยงกับตัวเองมากที่สุด
และเขียนตัวเลขนั้นลงในกระดาษพร้อมทั้งตกแต่งให้มีความสัมพันธ์กับเรื่องราวที่ตนเองอยากอธิบาย
-
ให้นักเรียนแต่ละคนนำเสนอแลกเปลี่ยนต่อครูและเพื่อน
ขั้นจบ :ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จักกิจกรรมตัวเลขกับชีวิต
และขอบคุณทุกเรื่องเล่าจากนักเรียน
|
- เรื่องเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับตัวเลขของคุณครู
- กระดาษขนาดครึ่ง
A5 ตามจำนวนนักเรียน
|
|
พุธ
|
มีสติ,อยู่กับตัวเอง
|
ชื่อกิจกรรม : ปักผ้า
ขั้นเตรียม :Brain gym ขั้นกิจกรรม:1.ครูเปิดภาพลวดลายผ้าที่เกิดจากการปัก 2.แจกผ้าให้นักเรียนคนละ 1 ผืน ,สะดึง,เข็ม,ด้าย 3.นักเรียนออกแบบภาพที่ต้องการปัก
4.เริ่มปักลวดลายลงผ้า
5.นำเสนอผลงาน
เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับภาพที่ปัก
ขั้นจบ:Empower
|
ผ้า
เข็ม
ด้าย สะดึง |
|
พฤหัสบดี
|
1.มีสติอยู่กับตัวเอง
2.รับผิดชอบต่อตนเอง,ส่วนร่วม 3.กล้าแสดงออกเพื่อเป็นผู้นำ |
ชื่อกิจกรรม : กระจกสะท้อนเงา
ขั้นเตรียม:กำหนดลมหายใจ ขั้นกิจกรรม:1.กระจกเงาเข้าคู่ 2.กระจกเงา 4 คน 3.กระจกเงา 8 คน 4.กระจกเงากลุ่ม ขั้นจบ : ครูให้Empower ขอบคุณซึ่งกันและกัน |
เพลงบรรเลง
|
|
ศุกร์
|
- มีสติและใคร่ครวญด้านต่างๆของตนเอง
- มีสมาธิต่อสิ่งที่กำลังทำ
|
ชื่อกิจกรรม : กล่องรูบิดแห่งมุมความคิด
ขั้นเตรียม : ทำสมาธิ 16 ท่าอรหันต์
ขั้นกิจกรรม : ครูแจกกล่องรูบิคขนาด 7*7ลูกบาศก์เซนติเมตรให้นักเรียนแต่ละคน
- นักเรียนแต่ละคนเขียนบุคลิกลักษณะและมุมต่างๆของตนเองลงในกล่องรูบิดเพื่อสะท้อนตัวเอง
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอบางมุมของตัวเองให้เพื่อนและครูรับฟัง
ขั้นจบ : ครูกล่าวขอบคุณทุกความตั้งใจและ Empower ซึ่งกันและกัน
|
กล่องรูบิค
|
วันจันทร์ (ขอบคุณต้นไม้)
ขั้นเตรียม : ครูและนักเรียนร่วมนั่งเป็นวงกลม
- Monitor ให้สัญญาณ ครูและนักเรียนสวัสดีซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
- ครูเชิญชวนนักเรียนทุกคนกลับมารู้ตัวอยู่กับลมหายใจ สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ 3 ครั้ง
- ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรม Brain Gym 3 ท่า (สมาธิ 14 จังหวะ,สลับแตะนิ้ว,นับนิ้วสลับข้าง1 - 10) โดยครูเป็นผู้ทำท่าให้นักเรียนทำตามพร้อมนับไปพร้อมๆกัน
ขั้นกิจกรรม :
1.ครูนำอุปกรณ์ที่จะใช้ทำกิจกรรมคือแจกันต้นไม้มาวางไว้กลางห้อง
2.ครูตั้งคำถามนำ เช่น นักเรียนเห็นต้นไม้นี้แล้วนักเรียนคิดถึงอะไรบ้าง3.ครูให้โจทย์นักเรียนเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของตนเองกับต้นไม้รวมทั้งขอบคุณต้นไม้ เวียนเป็นวงกลมจนครบทุกคน
2.ครูตั้งคำถามนำ เช่น นักเรียนเห็นต้นไม้นี้แล้วนักเรียนคิดถึงอะไรบ้าง3.ครูให้โจทย์นักเรียนเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของตนเองกับต้นไม้รวมทั้งขอบคุณต้นไม้ เวียนเป็นวงกลมจนครบทุกคน
ขั้นจบ:
- ครูพูดให้ Empower ชื่นชมความตั้งใจนักเรียนทุกคนอีกครั้ง
- ตัวแทนห้อง (Monitor) ให้สัญญาณครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกัน
วันอังคาร (กุญแจกับแม่เต่า)
ขั้นเตรียม : ครูและนักเรียนร่วมนั่งเป็นวงกลม
- Monitor ให้สัญญาณ ครูและนักเรียนสวัสดีซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
- ครูเชิญชวนนักเรียนทุกคนกลับมารู้ตัวอยู่กับลมหายใจ สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ 3 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย
- ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรม Brain Gym 3 ท่า (สมาธิ 14 จังหวะ,นิ้วโป้งสลับก้อย,นับนิ้วสลับข้าง 1 - 10) โดยครูเป็นผู้ทำท่าให้นักเรียนทำตามพร้อมนับไปพร้อมๆกัน
ขั้นกิจกรรม : ครูนำลูกกุญแจและเต่าไม้แกะสลักมาวางไว้บริเวณกลางห้อง นักเรียนสังเกตสิ่งที่เห็นและครูตั้งคำถามต่อนักเรียน เช่น นักเรียนเห็นสังเกตเห็นอะไรบ้าง และสิ่งที่นักเรียนเรียนเห็นมีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกันอย่างไร หรือนักเรียนคิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับหลักภาษาอย่างไร
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นจากคำถามของครู
- ครูยกตัวอย่างคำที่มีสระแอ 1 คำ และให้นักเรียนทุกคนคิดคำที่มีสระแอ คนละ 1 คำ ทุกคนได้พูด 1 คำที่ตนเองคิดได้โดยไม่ซ้ำกัน
- ครูให้นักเรียนทุกคนนำคำที่ตนเองคิดได้พูดทบทวนอีกครั้งจากนั้นให้โจทย์นักเรียนคือเราจะนำคำที่ทุกคนคิดได้(คำที่มีสระแอคนละ 1 คำ) มาแต่งเรื่องราวเชื่อมโยงต่อกันโดยเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับความรักหรือมิตรภาพ จากนั้นเริ่มเล่าเรื่องที่ครูเป็นคนแรกและต่อเติมเรื่องราวไปเรื่อยๆจนจบ
- ครูชื่นชมจินตนาการของนักเรียนทุกคนและขอบคุณเรื่องราวดีๆจากนักเรียนทุกคน
ขั้นจบ : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จักกิจกรรม “กุญแจกับแม่เต่า”
- ครูพูดให้ Empower ชื่นชมความตั้งใจนักเรียนทุกคนอีกครั้ง
- ตัวแทนห้อง (Monitor) ให้สัญญาณครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกัน
วันพุธ (พับของเล่นจากกระดาษ)
ขั้นเตรียม : ครูและนักเรียนร่วมนั่งเป็นวงกลม
- Monitor ให้สัญญาณ ครูและนักเรียนสวัสดีซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
- ครูเชิญชวนนักเรียนทุกคนกลับมารู้ตัวอยู่กับลมหายใจ สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ 3 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย
- ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรม Brain Gym 3 ท่า โดยครูเป็นผู้ทำท่าให้นักเรียนทำตามพร้อมนับไปพร้อมๆกัน
ขั้นกิจกรรม :
- ครูมีกระดาษขนาด ครึ่ง A4 ที่ไม่ได้ใช้แล้วมาให้นักเรียนคนละ 1 แผ่น ขณะนักเรียนรับและส่งจะไหว้ขอบคุณด้วยความนอบน้อม
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนเห็นกระดาษเหล่านี้แล้วนึกถึงอะไรบ้าง
- ครูมีโจทย์คือให้นักเรียนพับกระดาษเป็นอะไรก็ได้ที่ตนเองเคยพับเป็นและบอกด้วยว่าใครเป็นคนสอนให้พับคนแรก
ขั้นจบ :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จักกิจกรรม “พับกระดาษ”
- ครูพูดให้ Empower ชื่นชมความตั้งใจนักเรียนทุกคนอีกครั้ง
- ตัวแทนห้อง (Monitor) ให้สัญญาณครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกัน
วันพฤหัสบดี (โยคะ)
ขั้นเตรียม : ครูและนักเรียนร่วมนั่งเป็นวงกลม
- Monitor ให้สัญญาณ ครูและนักเรียนสวัสดีซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
- ครูเชิญชวนนักเรียนทุกคนกลับมารู้ตัวอยู่กับลมหายใจ สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ 3 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย
ขั้นกิจกรรม : ทำท่าโยคะโดยกำหนดลมหายใจ ลำดับจาก ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน โดยกำหนดลมหายใจเข้าออกให้สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของร่างกาย

ขั้นจบ : ครูมีนิทานสั้นๆเล่าให้นักเรียนฟังและนับให้สัญญาณเพื่อให้นักเรียนตื่นขึ้นอย่างมีสติจากนั้นครูพูดให้ คำชื่นชมความตั้งใจนักเรียนทุกคน
- ตัวแทนห้อง (Monitor) ให้สัญญาณครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกัน
กิจกรรมเดินสำรวจแปลงนาเพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลง
ขั้นกิจกรรม:นำเสนอความคิดเห็นสิ่งที่สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของปลงนา และวาดภาพบันทึกสิ่งที่เหนงลงในแผ่นวงกลมวงจรทุ่งนานอกะลา
ขั้นจบ : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จักกิจกรรม “สำรวจแปลงนา”
- ครูพูดให้ Empower ชื่นชมความตั้งใจนักเรียนทุกคน
- ตัวแทนห้อง (Monitor) ให้สัญญาณครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น